วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกครั้งที่ 15

บันทึกครั้งที่ 15

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วิชา     การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ    เเจ่มถิ่น
วันที่   13 กุมภาพันธ์ 2557

การดูแลให้ความช่วยเหลือ
-สร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้เกิดกับเด็ก
-มองหาจุดดี จุดแข็งของเด็ก และให้คำชมอยู่เสมอ
-ให้การเสริมแรงทางบวก
-รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
-วางแผนการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่้ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
-สังเกตติดตามความสามารถ และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของเด็ก 
-IEP
การรักษาด้วยยา
-Ritalin
-Dexedrine
-Cylert
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ(สศศ)
-โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
-ศูนย์การศึกษาพิเศษ(Early Intervention . EI)
-โรงเรียนเฉพาะความพิการ
-สถาบันราชานุกูล

บันทึกครั้งที่ 14

บันทึกครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
วิชา     การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ    เเจ่มถิ่น
วันที่    4 กุมภาพันธ์ 2557

การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว (Family Empowerment)
-ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
ส่งเสริมความสามารถเด็ก (Ability Enhancement)
การส่งเสริมโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากลาย
-ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
ส่งเสริมพัฒนาการ (Developmental Intervention)
-ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
-ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior Modification)
-เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-การให้แรงเสริม
แก้ไขการพูด (speech Therapy)
-โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า
-ถ้าเด็กพูดได้เร็วโอกาสที่จะมีพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติเพิ่มมากขึ้น
-ลดการการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
-ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดขึ้นจากการไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้
-การสื่อสารความหมายทดแทน (AAC)
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา (Educational Rehabilitation)
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
-โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
ฝึกทักษะสังคม (Social Skills Training)
-ทักษะในชีวิตประจำวัน และฝึกฝนทักษะทางสังคม
-ให้เด็กสามารถทำด้วยตนเองเต็มความสามารถโดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
การรักษาด้วยยา (Pharmacotherapy)
-Methylphenidate (Ritalin) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง /ซน/หุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ
-Risperidone/Haloperidol ช่วยลดอาการไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันแล่น พฤติกรรมซ้ำ ๆ พฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง
-ยาในกลุ่ม Anticonvulsant (ยากันชักใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง
การแพทย์เสริมและทางเลือก (Complementary and Alternative Medicine)
1. ศิลปะบำบัด (Art Therapy)       
2. ดนตรีบำบัด (Music Therapy)  
3. ละครบำบัด (Drama Therapy)  
4. การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
5. การฝังเข็ม (Acupuncture)         
6. เครื่องเอชอีจี (HEG; Hemoencephalogram)
พ่อ แม่ (Parent)
-“ลูกต้องพัฒนาได้
-“เรารักลูกของเราไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
-“ถ้าเราไม่รัก ใครจะรัก
-“หยุดไม่ได้
-ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
-ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
-หันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

บันทึกครั้งที่ 13

บันทึกครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วิชา     การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ    เเจ่มถิ่น
วันที่    28 มกราคม 2557

สอบกลางภาคในคาบเรียน

บันทึกครั้งที่ 12

บันทึกครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วิชา     การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ    เเจ่มถิ่น
วันที่    21 มกราคม 2557

พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะ ของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ  คือ เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน พัฒนาการนี้อาจจะพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน และพัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้า ด้วยก็ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 
-ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
-ปัจจัยสภาพแวดล้อมหลังคลอด

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.โรคพันธุกรรม มีพัฒนาการล่าช้า ตั้งแต่เกิด หรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิดมักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย 
2.โรคระบบประสาท  มักมีอาการ หรืออาการประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อย อาการชัก และความตึงของกล้ามเนื้อผิดปกติ
3.การติดเชื้อ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็กมักมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีม้ามโต การได้ยินบกพร่อง  และต้อกระจกร่วมด้วย นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น
สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ 
4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลึซึม ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด 
6.สารเคมี 
7.การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การซักประวัติ
2.การตรวจร่างกาย
3.การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ

แนวทางในการดูแลรักษา
1.หาสาเหตุที่่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
2.การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
3.การรักษาสาเหตุโดยตรง
4.การส่งเสริมพัฒนาการ
5.ให้คำปรึกษากับครอบครัว

สรุปขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การตรวจคัดกรองพัฒนาการ Developmental Screening
2.การตรวจประเมินพัฒนาการ   Developmental Assessment
3.การให้การวินิจฉัย และหาสาเหตุ Diagnosis
4.การให้การรักษา และส่งเสริมพัฒนาการ Treatment and Early Intervention
5.การติดตาม และ ประเมินผลการรักษาเป็นระยะ Follow Up and Evaluation

บันทึกครั้งที่ 11

บันทึกครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วิชา     การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ    เเจ่มถิ่น
วันที่    14 มกราคม 2557

ปิดกรุงเทพ 14 ม.ค. 57 เกาะติดข่าว bangkok shutdown ล่าสุดวันนี้

บันทึกครั้งที่ 10

บันทึกครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วิชา     การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ    เเจ่มถิ่น
วันที่    7 มกราคม 2557

อาจารย์แจกใบประเมิน เพื่อให้ประเมินเพื่อน แต่ละกลุ่ม โดยในวันนี้เพื่อนนำเสนอ ด้วยกัน 3กลุ่ม 

กลุ่มที่ 1 คือ ความบกพร่องทางสมองพิการ ( C.P.) คือเด็กที่สมองพิการ (Cerebral Palsy) C.P.ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นโรคที่คงที่ ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ ร่างกายและ กล้ามเนื้อ ทรงตัวผิดปกติ เช่นการเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา

กลุ่มเพื่อนนำเสนอความบกพร่องทางสมองพิการ

กลุ่มที่ 2 ความบกพร่องทางการเรียนรู้( LD.) เป็นโรคที่เด็กอยู่ในภาวะบกพร่องการเรียนรู้ เด็กวัยนี้จะเก่งกว่าปกติ หรืออยู่ในระดับปกติ แต่การเรียนรู้จะช้ากว่าเด็กปกติ
สาเหตุที่เกิด 
-พ่อแม่ ญาติพี่น้อง มีประวัติเป็นโรคนี้
-แม่มีอายุน้อยมาก
-น้ำหนักตัวเด็กน้อยมาก
-เด็กมีภาวะบาดเจ็บทางสมองก่อนคลอด หรือหลังคลอด กำหนด
-สภาพแวดล้อมเป็นมลพิษ

กลุ่มเพื่อนำเสนอ ความบกพร่องทางการเรียนรู้

กลุ่มที่ 3 เด็กสมาธิสั้น  คือ เด็กที่ไม่สามารถ นั่งวางแผน  นั่งทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายได้ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่สามารถทำงานที่ใช้ทักษะได้ 
สาเหตุที่เกิด
สมองบางส่วนทำงานน้อยกว่าปกติ  และยังพบอีกว่า แม่ที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ในระหว่างตั้งครรภ์ อาจจะมีผลให้สมองของเด็กมีปัญหาในการพัฒนา นอกจากนี้ยังพบว่าสารตะกั่ว น่าจะทำให้เกิดโรคนี้

บันทึกครั้งที่ 9

บันทึกครั้งที่ 9 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วิชา     การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
ผู้สอน อาจารย์ตฤณ    เเจ่มถิ่น
วันที่    31 ธันวาคม 2556

วันหยุดปีใหม่